หัวข้อ   “ประเมินผลงาน 1 ปี ผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์”
                 เนื่องด้วยวันที่ 15 มกราคม ที่จะถึงนี้เป็นวันครบรอบ 1 ปี ในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 1 ปี ผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในทุกสาขาอาชีพที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต รวมทั้งสิ้น 1,400 คน เมื่อวันที่ 9 - 10 มกราคม
ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานด้านต่างๆ ของ กทม. ในยุคผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร
                 เมื่อทำงานครบ 1 ปี พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 5.33 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

                         ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการสำรวจเมื่อตอนที่ผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์ทำงานครบ 5 เดือน
                 และ 9 เดือน พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงความพึงพอใจผลงานในแต่ละด้าน พบว่า
                 มีคะแนนเพิ่มขึ้นในทุกๆ ด้าน อย่างไรก็ตามมีเพียงผลงานด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่คน
                 กรุงเทพฯ มองว่ายังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก โดยมีคะแนนไม่ถึงครึ่ง (โปรดพิจารณารายละเอียดในตาราง)


 
5 เดือน
(คะแนน)
9 เดือน
(คะแนน)
ครบ 1 ปี
(คะแนน)
1. ด้านความสะอาดและสิ่งแวดล้อม
5.03
5.32
5.67
2. ด้านการศึกษาและคุณภาพชีวิต
5.45
5.52
5.64
3. ด้านศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาเมือง
5.14
5.18
5.46
4. ด้านเศรษฐกิจและการส่งเสริมอาชีพ
4.78
4.86
5.21
5. ด้านการจราจรและขนส่งมวลชน
4.44
4.73
5.07
6. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4.42
4.54
4.95
เฉลี่ยรวม
4.88
5.03
5.33
                 หมายเหตุ  การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                               แต่ไม่ใช่(ผู้ตอบคนเดิม) กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
 
 
             2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานหรือโครงการที่เด่นชัดน่าประทับใจ ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ของ
                 ผู้ว่าฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร


 
ร้อยละ
เห็นว่ามีผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจ
ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง)
  -  การปรับปรุงสะพานข้ามแยกทั่ว กทม.
   ปรับปรุงสภาพถนนและทางเท้า
ร้อยละ 10.9
  -  กทม. มีความสะอาดมากขึ้น ทั้งถนนหนทาง
   ตลาด และแม่น้ำลำคลอง
ร้อยละ  5.2
  -  การขยายเส้นทางรถไฟฟ้า BTS ร้อยละ  4.3
  -  การทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ขุดลอก
   คลองระบายน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วม
ร้อยละ  2.7
  -  การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ  2.6
25.7
เห็นว่ายังไม่มีผลงานที่เด่นชัดน่าประทับใจ
74.3
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อสภาพโดยรวมของกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบระหว่างก่อนเข้ารับตำแหน่ง
                 กับหลังการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ครบ 1 ปี ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร พบว่า


 
ร้อยละ
เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
61.6
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
27.9
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง
10.5
 
 
             4. คะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ว่าฯ กทม. ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร
                 พบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 5.51 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน


                         ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อตอนที่ผู้ว่าฯ สุขุมพันธุ์ ทำงานครบ 5 เดือน และ 9 เดือน
                 พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบ พบว่า ความซื่อสัตย์โปร่งใส
                 มีคะแนนสูงที่สุดคือ 6.23 คะแนน ขณะที่การทำงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมและความฉับไวในการ
                 แก้ปัญหา มีคะแนนต่ำสุดคือ 5.22 คะแนน (โปรดพิจารณารายละเอียดในตาราง)


 
5 เดือน
(คะแนน)
9 เดือน
(คะแนน)
ครบ 1 ปี
(คะแนน)
1. ความซื่อสัตย์โปร่งใส
6.01
5.91
6.23
2. ความขยันทุ่มเทในการทำงาน
5.44
5.56
5.80
3. การปฏิบัติตามนโยบายที่ได้แถลงไว้
5.11
5.20
5.32
4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่
5.16
5.17
5.29
5. ความฉับไวในการแก้ปัญหา
4.84
5.10
5.22
6. การทำงานให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม
5.04
5.03
5.22
เฉลี่ยรวม
5.27
5.33
5.51
                 หมายเหตุ  การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                               แต่ไม่ใช่(ผู้ตอบคนเดิม) กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มถนน
จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและ
การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,400 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.2 และเพศหญิงร้อยละ 50.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 9 – 10 มกราคม 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 14 มกราคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
689
49.2
             หญิง
711
50.8
รวม
1,400
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
298
21.3
             26 – 35 ปี
380
27.1
             36 – 45 ปี
307
21.9
             46 ปีขึ้นไป
415
29.7
รวม
1,400
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
730
52.1
             ปริญญาตรี
586
41.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
84
6.0
รวม
1,400
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
86
6.1
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
320
22.9
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
463
33.0
             รับจ้างทั่วไป
151
10.8
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
187
13.4
             อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
193
13.8
รวม
1,400
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776